เกลียวสามเหลี่ยม คือเกลียวที่มีพื้นที่หน้าตัดเป็นรูปสามเหลี่ยม มีทั้งเกลียวเมตริกและอังกฤษ ขนาดต่างๆ ที่สำคัญของเกลียวสามเหลี่ยมมีดังนี้
- เส้นผ่านศูนย์กลางโตนอก (d, D)
- ระยะพิตช์ของเกลียว (P)
- เส้นผ่านศูนย์กลางโคนเกลียว (d1, D1)
- เส้นผ่านศูนย์กลางที่วงกลมพิตช์ (d2, D2)
- ความลึกเกลียว (t1)
- รัศมีโค้งที่ท้องเกลียว (R)
- ขนาดรูเจาะเพื่อทำเกลียว (TDS)
เกลียวเมตริกธรรมดา
คือเกลียวที่มีมุมรวมยอดเกลียว 60° เป็น จะแตกต่างจากเกลียวเมตริก ISO ตรงที่สูตรการคำนวณ บางค่าที่แตกต่างกัน เช่น สูตรการหาค่าความลึกเกลียว
ตัวอย่างการคำนวณเกลียว M14x2
คือเกลียวที่มีมุมรวมยอดเกลียว 60 องศาเหมือนกับเกลียวเมตริกธรรมดา แต่จะมีความแตกต่างกันในเรื่องของสูตรคำนวณ
ตัวอย่างการคำนวณเกลียวเมตริก ISO M16x2
ตัวอย่างการคำนวณเกลียวเมตริก ISO M16x2
เกลียววิตเวอร์ต
เป็นเกลียวในระบบอังกฤษ เป็นเกลียวที่มีมุมมนโค้งทั้งยอดเกลียวและโคนเกลียว มีมุมรวมยอดเกลียวอยู่ที่ 55° บอกเกลียวเป็นจำนวนเกลียวต่อนิ้ว การเรียกเกลียวประเภทนี้ จะบอกเป็นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางโตนอกของเกลียวเป็นนิ้ว แล้วตามด้วยจำนวนเกลียวต่อนิ้วเช่น 3/4 – 10
เป็นเกลียวในระบบอังกฤษ เป็นเกลียวที่มีมุมมนโค้งทั้งยอดเกลียวและโคนเกลียว มีมุมรวมยอดเกลียวอยู่ที่ 55° บอกเกลียวเป็นจำนวนเกลียวต่อนิ้ว การเรียกเกลียวประเภทนี้ จะบอกเป็นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางโตนอกของเกลียวเป็นนิ้ว แล้วตามด้วยจำนวนเกลียวต่อนิ้วเช่น 3/4 – 10
อักษรย่อที่ใช้
- BSW = (British Standard Whitworth) หมายถึงเกลียววิตเวอร์ค ชนิดหยาบ
- BSW = (British Standard Fine) หมายถึงเกลียววิตเวอร์ค ชนิดละเอียด
ตัวอย่างการคำนวนเกลียว 1/4 – 20 BSM
เกลียวอเมริกัน (American National Thread)
คือเกลียวสามเหลี่ยมที่ใช้หน่วยนิ้วเหมือนกับเกลียววิตเวอร์ต แต่มีรูปร่างต่างกันตรงมุมรวมยอดเกลียว 60° การเรียกชื่อเกลียวก็จะเรียกขึ้นต้นด้วย ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางโตนอก ตามด้วยจำนวนเกลียวต่อนิ้ว และตามด้วยอักษรต่อไปนี้
- NC (National Coarse Thread Series) หมายถึง เกลียวอเมริกันชนิดเกลียวหยาบ
- NF (National Fine Thread) หมายถึง เกลียวอเมริกันชนิดเกลียวละเอียด
- NEF (National Extra – Fine Thread series) หมายถึง เกลียวอเมริกันชนิดพิเศษที่ผลิตออกมาใช้เฉพาะงาน
ตัวอย่างการคำนวณเกลียวอเมริกัน 1/4 –20 NC
เกลียวยูนิไฟต์ (Unified Thread)
คือ เกลียวสามเหลี่ยมที่ใช้หน่วยเป็นนิ้ว เป็นเกลียวที่ดัดแปลงมาจากเกลียวอเมริกัน แต่มาทำเป็นมาตราฐานสากลของระบบเกลียวสามเหลี่ยมอังกฤษ จึงเรียกว่า เกลียว ISO Inch มีมุมรวมยอดเกลียว 60° จะแต่แตกต่างจากเกลียวอเมริกันตรงสูตรคำนวณ เช่นความลึกเกลียว ใช้ตัวอักษรย่อตามนี้
- UNC (Unified National Coarse Thread Series) หมายถึง เกลียวยูนิไฟต์ชนิดหยาบ
- UNC (Unified National Fine Thread Series) หมายถึง เกลียวยูนิไฟต์ชนิดละเอียด
- UNC (Unified National Extra – Fine Thread Series) หมายถึง เกลียวยูนิไฟต์ชนิดพิเศษที่ทำออกมาเพื่อใช้กับงานเฉพาะทาง
สูตรคำนวณเกลียว 1/4 – 20 UNC
เกลียวยอดแหลม (Sharp V-Thread)
คือเกลียวสามเหลี่ยมที่ใช้กันในช่วงเริ่มแรก แต่ปัจจุบันไม่นิยมใช้แล้วเพราะเป็นเกลียวยอดแหลมไม่มีการตัดยอดตัดโคนเกลียวทำให้เมื่อใช้ไปฟันเกลียวจะแตกหักง่าย ทำให้เศษที่หักไปติดในเกลียว
การคำนวณเกลียว Sharp V-Thread โต 12x1.75
สูตรด้านบนเป็นสูตรคำนวณเกลียวในระบบเมตริก แต่ถ้าเป็นระบบอังกฤษ ให้เปลี่ยนระยะพิตช์ โดยใช้สูตร
P = 25.4/N
โดยที่ N คือจำนวนรอบของเกลียวต่อนิ้ว
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น