ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Knowledge: Tangential & Short Hammering Cut


ในการกัดงานที่มีหน้ากว้าง 20 ม.ม. ใช้ดอกกัดขนาด 25 ม.ม. แน่นอนเราสามารถกัดงานได้ทั้ง 2 แบบ คือกัดตรงกึ่งกลางของงาน (ตามรูปบน) และกัดแบบขยับ 2 ครั้่ง (ตามรูปล่าง) แต่วิธีไหนล่ะที่จะดีที่สุดในการกัดชิ้นงาน

แน่นอนวิธีด้านบนจะให้ระยะทางในการกัดงานที่สั้นที่สุด แต่รู้หรือไม่ว่ากลับเป็นวิธีที่แย่ที่สุด เพราะคมตัดของทูลล์จะกระแทกชิ้นงานทันทีเป็นช่วงสั้น ๆ และไม่ต่อเนื่อง ทำให้ผิวงานสั่นเมื่อมีการกระแทกของทูลล์ นอกจากผิวงานที่ได้จะไม่สวยแล้วคมตัดของทูลล์ก็จะสึกเร็วอีกด้วย วิธีการตัดเฉือนแบบนี้เรียกว่า "Short Hammering Cut"

แต่ถ้าใช้วิธีกัดงานแบบรูปด้านล่าง ถึงแม้ว่าจะทำให้ระยะทางในการกัดงานยาวขึ้น แต่สิ่งที่จะได้มาคือผิวงานจะสวยขึ้นเรียบขึ้นและจะลดอาการสั้นของงานลงได้ ยังทำให้คมตัดของทูลล์มีความสึกน้อยลงอีกด้วย วิธีการตัดเฉือนแบบนี้เรียกว่า "Tangential Cut"

ใครเคยเจอปัญหาปาดหน้าผิวงานไม่เรียบ, งานสั่น, มีเสียงดัง, ทูลล์สึกเร็วกว่าปกติ จะลองเอาเทคนิคนี้ไปใช้ดูได้นะครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บทนำ

ในวงการอุตสาหกรรมในปัจจุบันคงจะปฎิเสธไม่ได้ว่าการนำเทคโนโลยีทางด้าน CAD-CAM เข้ามาใช้เกิดประโยชน์สูงสุดเป็นสิ่งที่ไม่ไกลเกินจริง ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการพัฒนากระบวนการผลิตแบบอัตโนมัติก็มีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกระบวนการผลิตที่ต้องการความละเอียด ความถูกต้อง ความเที่ยงตรงของชิ้นงาน ความน่าเชื่อถือ และความยืดหยุ่นในกระบวนการผลิต เทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทอย่างยิ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตได้แก่ CAD/CAM/CAE และ CNC

Mastercam X:Operations Manager

  ทางด้านซ้ายของหน้าต่างในโปรแกรม Mastercam X จะมีพาเนลที่เรียกว่า Operations Manager จะประกอบไปด้วย 2 ส่วนคือ Toolpath และ Solids Managers ในหน้าต่างนี้เราสามารถที่จะทำการแก้ไข Toolpath และ Solid ได้ ปรับขนาดหน้าต่างได้โดยการ Drag ที่ขอบขวาของหน้าต่าง หรือจะทำการลากไปไว้ที่ตำแหน่งอื่นๆ ได้โดยการคลิกไปที่ไตเติ้ลบาร์บนหน้าต่าง Operations Manager และยังซ่อนหน้าต่าง Operations Manager ได้โดยการกด [Alt+O]

Technology: CAD Computer Aided Design

CAD เป็นคำย่อของ Computer Aided Design คือใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ เป็นการนาคอมพิวเตอร์มาช่วยในการสร้างชิ้นส่วน (Part) ด้วยแบบจำลองทางเรขาคณิต วิศวกรเครื่องกลหรือวิศวกรออกแบบใช้ CAD ในการสร้างชิ้นส่วน หรือเรียกว่าแบบจำาลอง (Model) และแบบจำาลองนี้สามารถแสดงเป็นแบบ (Drawing) หรือไฟล์ข้อมูล CAD ได้ทั้ง 2 มิติ และ 3 มิติ