ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Knowledge: ประเภทของเกลียว



เกลียว (Thread) หมายถึงสันหรือร่องที่เกิดขึ้นบนผิวงานวนไปรอบๆ จะซ้ายหรือขวาก็ได้ด้วยระยะทางที่สม่ำเสมอ


ลักษณะของเกลียวก็จะมีได้หลายแบบเช่น เกลียวปากเดียว, เกลียวสองปาก, เกลียวสามปาก และยังแบ่งประเภทของเกลียวได้ออกเป็น 5 ประเภท

  1. เกลียวสามเหลี่ยม
    • เกลียวเมตริก (M-Thread)
    • เกลียว ISO
    • เกลียววิตเวอร์ต
    • เกลียวอเมริกัน
    • เกลียวยูนิไฟต์
    • เกลียวสามเหลี่ยมยอดแหลม
  2. เกลียวสี่เหลี่ยม
  3. เกลียวสี่เหลี่ยมคางหมู
    • เกลียว Tr
    • เกลียว Aeme
    • เกลียวหนอน
  4. เกลียวกลม
  5. เกลียวฟันเลื่อย
ส่วนต่างๆ ของเกลียว

Major Diameter คือความยาวเส้นผ่านศูนย์กลางโตนอกสุดของเกลียว ไม่ว่าจะเป็นเกลียวนอกหรือเกลียวในหรือก็คือขนาดของเกลียวนั้นเอง

Minor Diameter คือความยาวเส้นผ่านศูนย์กลางวัดที่โคนเกลียว ทั้งของเกลียวนอกและเกลียวใน

Pitch คือระยะห่างระหว่างตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ไปยังยังตำแหน่งเดียวกัน ของเกลียวถัดไป เช่นการวัดจากยอดเกลียวถึงอีกยอดเกลียว

Angle of Thread หรือ Included Angle คือ มุมรวมยอดเกลียว

Helix Angle คือ มุมเอียงของฟันเกลียว

Depth of Thread คือ ความลึกของเกลียว วัดจากยอดเกลียวถึงโคนเกลียว

Number of Thread คือ จำนวนเกลียวต่อนิ้ว


ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บทนำ

ในวงการอุตสาหกรรมในปัจจุบันคงจะปฎิเสธไม่ได้ว่าการนำเทคโนโลยีทางด้าน CAD-CAM เข้ามาใช้เกิดประโยชน์สูงสุดเป็นสิ่งที่ไม่ไกลเกินจริง ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการพัฒนากระบวนการผลิตแบบอัตโนมัติก็มีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกระบวนการผลิตที่ต้องการความละเอียด ความถูกต้อง ความเที่ยงตรงของชิ้นงาน ความน่าเชื่อถือ และความยืดหยุ่นในกระบวนการผลิต เทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทอย่างยิ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตได้แก่ CAD/CAM/CAE และ CNC

Mastercam X:Operations Manager

  ทางด้านซ้ายของหน้าต่างในโปรแกรม Mastercam X จะมีพาเนลที่เรียกว่า Operations Manager จะประกอบไปด้วย 2 ส่วนคือ Toolpath และ Solids Managers ในหน้าต่างนี้เราสามารถที่จะทำการแก้ไข Toolpath และ Solid ได้ ปรับขนาดหน้าต่างได้โดยการ Drag ที่ขอบขวาของหน้าต่าง หรือจะทำการลากไปไว้ที่ตำแหน่งอื่นๆ ได้โดยการคลิกไปที่ไตเติ้ลบาร์บนหน้าต่าง Operations Manager และยังซ่อนหน้าต่าง Operations Manager ได้โดยการกด [Alt+O]

Technology: CAD Computer Aided Design

CAD เป็นคำย่อของ Computer Aided Design คือใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ เป็นการนาคอมพิวเตอร์มาช่วยในการสร้างชิ้นส่วน (Part) ด้วยแบบจำลองทางเรขาคณิต วิศวกรเครื่องกลหรือวิศวกรออกแบบใช้ CAD ในการสร้างชิ้นส่วน หรือเรียกว่าแบบจำาลอง (Model) และแบบจำาลองนี้สามารถแสดงเป็นแบบ (Drawing) หรือไฟล์ข้อมูล CAD ได้ทั้ง 2 มิติ และ 3 มิติ