ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Tips: เทคนิคการเจาะรูลึก Deep hole



เทคนิคการเจาะรูลึก
การเจาะรูที่ลึกมากกว่า 4D หรือสี่เท่าของขนาดดอกสว่าน โดยทั่วไปจะถือว่าเป็นการเจาะรูลึก เศษของการเจาะจะมักอัดแน่นอยู่ในรู ทำให้เจาะงานไม่ลง จึงต้องยกดอกสว่านเพื่อมาคลายเศษบ่อยๆ และเพื่อให้น้ำหล่อเย็นไหลลงรูได้ การเจาะแบบนี้เรียกว่า Peck Drilling แต่ปัจจุบันสว่านจะมีการออกแบบร่องคายเศษใหม่ที่เรียกกันว่าพาราโบล่า (Parabolic Fluted Drill) จะมีร่องคายเศษที่ใหญ่ขึ้นทำให้เศษไหลออกมาตามร่องคายเศษได้ง่ายขึ้น แต่ในการเจาะรูลึกจะเกิดความร้อนสะสมที่ปลายคมตัดทำให้สว่านสึกหรือแตกได้ ดังนั้นเราจะต้องลดความเร็วรอบและอัตราการป้อนลงเพื่อลดการเกิดความร้อนสะสม




สว่านที่มีร่องคายเศษแบบปกติทั่วไป
ความลึกของการเจาะ %การลดความเร็วรอบ (N) %การลดอัตรการป้อน (F)
3D 0% 0%
4D 10% 0%
5D 20% 10%
6D-8D 30% 20%
8D-11D 40% 20%
>11D
ไม่แนะนำให้ใช้




สว่านพาราโบล่า
ความลึกของการเจาะ %การลดความเร็วรอบ (N) %การลดอัตรการป้อน (F)
3D 0% 0%
4D 0% 0%
5D 5% 10%
6D-8D 10% 20%
8D-11D 20% 20%
>11D
ไม่แนะนำให้ใช้

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บทนำ

ในวงการอุตสาหกรรมในปัจจุบันคงจะปฎิเสธไม่ได้ว่าการนำเทคโนโลยีทางด้าน CAD-CAM เข้ามาใช้เกิดประโยชน์สูงสุดเป็นสิ่งที่ไม่ไกลเกินจริง ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการพัฒนากระบวนการผลิตแบบอัตโนมัติก็มีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกระบวนการผลิตที่ต้องการความละเอียด ความถูกต้อง ความเที่ยงตรงของชิ้นงาน ความน่าเชื่อถือ และความยืดหยุ่นในกระบวนการผลิต เทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทอย่างยิ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตได้แก่ CAD/CAM/CAE และ CNC

Mastercam X:Operations Manager

  ทางด้านซ้ายของหน้าต่างในโปรแกรม Mastercam X จะมีพาเนลที่เรียกว่า Operations Manager จะประกอบไปด้วย 2 ส่วนคือ Toolpath และ Solids Managers ในหน้าต่างนี้เราสามารถที่จะทำการแก้ไข Toolpath และ Solid ได้ ปรับขนาดหน้าต่างได้โดยการ Drag ที่ขอบขวาของหน้าต่าง หรือจะทำการลากไปไว้ที่ตำแหน่งอื่นๆ ได้โดยการคลิกไปที่ไตเติ้ลบาร์บนหน้าต่าง Operations Manager และยังซ่อนหน้าต่าง Operations Manager ได้โดยการกด [Alt+O]

Technology: CAD Computer Aided Design

CAD เป็นคำย่อของ Computer Aided Design คือใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ เป็นการนาคอมพิวเตอร์มาช่วยในการสร้างชิ้นส่วน (Part) ด้วยแบบจำลองทางเรขาคณิต วิศวกรเครื่องกลหรือวิศวกรออกแบบใช้ CAD ในการสร้างชิ้นส่วน หรือเรียกว่าแบบจำาลอง (Model) และแบบจำาลองนี้สามารถแสดงเป็นแบบ (Drawing) หรือไฟล์ข้อมูล CAD ได้ทั้ง 2 มิติ และ 3 มิติ