ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Tips: การจับยึดชิ้นงานด้วยปากกาให้ถูกวิธี


วิธีการจับยึดชิ้นงานหลายๆ ชิ้นพร้อมๆ กัน
เมื่อมีความจำเป็นต้องจับยึดชิ้นงานหลายๆชิ้นด้วยปากกาจับชิ้นงาน ไม่ว่าจะงานกัดหรืองานเจียระไนราบ มีข้อควรระวังเพื่อป้องกันการเกิดอันตรายกับเครื่องจักร อุปกรณ์ และผู้ปฏิบัติ ดังนี้


ไม่ควรจับยึดชิ้นงานซ้อนกันในลักษณะตามรูป แม้ว่าความยาวของชิ้นงานถ้าคาดคะเนด้วยสายตาและพบว่าเท่ากัน แต่หากมีการวัดขนาดชิ้นงานอย่างละเอียด จะพบว่าความยาวและขนาดของชิ้นงานมีความต่างกันอยู่ การจับยึดแบบนี้ชิ้นงานจะถูกบีบให้แน่นไม่เท่ากันทุกชิ้น บางชิ้นอาจจะหลวมมากเพราะไม่มีแรงมาจับยึดเลย



หากงานมีจำนวนหลายชิ้นและต้องการให้การจับยึดแน่นทุกชิ้น ควรจับยึดชิ้นงานตามรูป

ตำแหน่งการจับยึดชิ้นงานบนปากกา
ตำแหน่งการจับยึดของชิ้นงานควรอยู่ที่กลางปากกาเพื่อให้การจับยึดแข็งแรงและมั่นคง



ถ้าจับชิ้นงานเยื้องไปด้านใดด้านหนึ่ง อาจทำชิ้นงานหลุดได้ระหว่างการกัดงาน



ควรที่จะมีแท่งขนานรองที่ด้านล่างของชิ้นงานเสมอเพื่อป้องการงานเลื่อนลงระหว่างการกัดงาน



ถ้าไม่มีแท่งขนานรองด้านล่างของชิ้นงาน อาจจะทำให้ชิ้นงานขยับหนีระหว่างการกัดงาน






ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บทนำ

ในวงการอุตสาหกรรมในปัจจุบันคงจะปฎิเสธไม่ได้ว่าการนำเทคโนโลยีทางด้าน CAD-CAM เข้ามาใช้เกิดประโยชน์สูงสุดเป็นสิ่งที่ไม่ไกลเกินจริง ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการพัฒนากระบวนการผลิตแบบอัตโนมัติก็มีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกระบวนการผลิตที่ต้องการความละเอียด ความถูกต้อง ความเที่ยงตรงของชิ้นงาน ความน่าเชื่อถือ และความยืดหยุ่นในกระบวนการผลิต เทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทอย่างยิ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตได้แก่ CAD/CAM/CAE และ CNC

Mastercam X:Operations Manager

  ทางด้านซ้ายของหน้าต่างในโปรแกรม Mastercam X จะมีพาเนลที่เรียกว่า Operations Manager จะประกอบไปด้วย 2 ส่วนคือ Toolpath และ Solids Managers ในหน้าต่างนี้เราสามารถที่จะทำการแก้ไข Toolpath และ Solid ได้ ปรับขนาดหน้าต่างได้โดยการ Drag ที่ขอบขวาของหน้าต่าง หรือจะทำการลากไปไว้ที่ตำแหน่งอื่นๆ ได้โดยการคลิกไปที่ไตเติ้ลบาร์บนหน้าต่าง Operations Manager และยังซ่อนหน้าต่าง Operations Manager ได้โดยการกด [Alt+O]

Technology: CAD Computer Aided Design

CAD เป็นคำย่อของ Computer Aided Design คือใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ เป็นการนาคอมพิวเตอร์มาช่วยในการสร้างชิ้นส่วน (Part) ด้วยแบบจำลองทางเรขาคณิต วิศวกรเครื่องกลหรือวิศวกรออกแบบใช้ CAD ในการสร้างชิ้นส่วน หรือเรียกว่าแบบจำาลอง (Model) และแบบจำาลองนี้สามารถแสดงเป็นแบบ (Drawing) หรือไฟล์ข้อมูล CAD ได้ทั้ง 2 มิติ และ 3 มิติ